กระทรวงเกษตรฯ เปิดหลักสูตร วิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.)” รุ่นที่ 3

รวมแวดวงภาครัฐ เอกชน Smart Farmer เข้าร่วม หวังยกระดับและพัฒนาวงการเกษตรไทย สร้าง ขีดความสามารถการแข่งขันด้านการเกษตรโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วย

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้นายทองเปลว กองจันทร์ อดีตปลัดกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนหลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง(วกส.) ด้านวิชาการ รุ่นที่ 3 จัดประชุมและแถลงเปิดหลักสูตร ร่วมกับนายอนันต์ สุวรรณรัตน ประธานกรรมการมูลนิธิเกษตราธิการ ที่ปรึกษาฯ (ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ) และนายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ รองประธานอนุกรรมการฯ และดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ คณะทำงาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นายทองเปลว กล่าวว่า กระทรวงเกษตร ฯ ได้ใช้หลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) เพื่อเชื่อมโยงบุคลากรภาครัฐและเอกชน ให้ร่วมกันขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านการเกษตรให้ ไปในแนวทางเดียวกัน พร้อมทั้งตอบสนองนโยบายเศรษฐกิจ BCG ที่รัฐบาล เล็งเห็นว่าหากใช้การเกษตรรูปแบบเดิมทำให้การสร้างผลผลิตรายได้ที่น้อย และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาก เมื่อปรับมาดูแลรักษาด้านสิ่งแวดล้อม และในรูปแบบที่ทำน้อยได้มาก สร้างโอกาสให้มีรายได้ที่สูงขึ้น ในรูปแบบ BCG ก็จะช่วยพัฒนาวงการเกษตร สร้างรายได้ให้พี่น้องเกษตรกรได้มากยิ่งขึ้น

ขณะที่นายอนันต์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้รับผลสำเร็จของหลักสูตรตั้งแต่รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 มาแล้ว เป็นการเชื่อมโยงบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร ทั้งภาครัฐและเอกชน สมาร์ทฟาร์มเมอร์เกษตรกรรุ่นใหม่ เข้ามาเรียนรู้เทคโนโลยี นวัตกรรมและวิทยาศาสตร์ด้านการเกษตรเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆให้สามารถนำไปต่อยอดการเกษตรยุคใหม่ที่ทันสมัยได้ดีมากยิ่งขึ้น

เช่นเดียวกับนายสุวิทย์ ระบุว่า หลักสูตรนี้มีวิทยากรผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้รวมถึงผู้เข้าอบรมหลักสูตรมาจากทุกภาคส่วน ที่อยู่ในซัพพลายเชน หรือห่วงโซ่อุปทาน ของภาคการเกษตรทั้งหมด ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ มีตั้งแต่ภาคการเกษตรระดับพื้นที่ ไปจนถึงอุตสาหกรรมการเกษตร ระบบโลจิสติกส์และการส่งออก ซึ่งมีการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนกัน โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาช่วยยกระดับภาคการเกษตรของไทยให้มีศักยภาพเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในภาคการเกษตรได้มากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้หลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.)” เป็นหลักสูตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดทำขึ้นเพื่อขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยให้เป็นผู้นำในระดับนานาชาติด้วยวิทยาการเกษตรเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ภายใต้หลักการ การตลาดนำการผลิตและเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความสมดุล มั่นคงและยั่งยืน ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ วิสัยทัศน์และประสบการณ์ ระหว่างผู้นำ ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม ให้มีส่วนร่วมในด้านการพัฒนาพัฒนาการเกษตรวิถีใหม่ระหว่างกัน และขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทย ให้เป็นผู้นำในระดับนานาชาติด้วยวิทยาการเกษตรเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ในรูปแบบ “ประชารัฐ”

มก. ได้มีโอกาสเข้าไปช่วยจัดฝึกอบรม วสก3 โดยภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร ซึ่งจะให้นิสิต คณาจารย์ มก ได้เข้าไปร่วมในการฝึกอบรม ดังกล่าว ด้วย อีกทั้งเพื่อเป็นการพัฒนานิสิต ไปพร้อมด้วย ทั้งนี้ มก.พร้อมสนับสนุนการจัดหลักสูตร ทั้งวิชาการ สถานที่ อ.จงรัก กล่าว